โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่ง

หมู่ที่ 11 บ้านบ้านท่าปากแหว่ง ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 82140

258875129_1289057044892997_8143018837263257037_n

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330185-20160629-160754

นางสาวทัดดาว ถนัดกิจ
ผู้อำนวยการโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่ง ก่อตั้งเมื่อวันที่ วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๑๘ โดยผู้ปกครองและประชาชนในท้องถิ่นภายใต้การนำนายตาด จินดาพล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนขึ้นบนที่ดินบริจาคของนายโผ้ เผ่าจำรูญ ราษฎรในหมู่บ้านเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยดำเนินการสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุ่งจาก บนเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา เพื่อเป็นเป็นเกียรติแก่ประชาชนของหมู่บ้าน ทางราชการจึงให้ชื่อว่า “โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่ง”
โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่งเปิดทำการจัดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๑๘ มีครู ๒ คน มีนายบัณฑิต จินดาพลเป็นครูใหญ่ รับนักเรียน เข้าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีนักเรียนทั้งหมด ๒๔ คน

โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่ง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๖๙/๔ หมู่ที่ ๑๑ ตำบล โคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา รหัสไปรษณีย์ ๘๒๑๔๐ โทรศัพท์ ๐๗๖ – ๔๙๐๑๗๒ website -www.th สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

วิสัยทัศน์โรงเรียน

“ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข ภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ”

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับให้ทั่วถึง เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน
๒. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขตามมาตรฐานการศึกษา
๓. จัดสภาพแหล่งเรียนรู้ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
๔. พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครูให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
๕. พัฒนาบริหารจัดการอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ โดยการบริหารจัดการแบบโรงเรียนเป็นฐานที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และความต้องการของชุมชน
๖. พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขตามมาตรฐานการศึกษา
๗.. สร้างความร่วมมือ การระดมทรัพยากร ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา